Translate

วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

(Coolingpad) คูลลิ่งแพดความเหมือนที่แตกต่าง

(Coolingpad) คูลลิ่งแพดความเหมือนที่แตกต่าง

อีเมล
alt
(Coolingpad) คูลลิ่งแพดความเหมือนที่แตกต่าง

การสร้างความชื้นสำหรับบ้านนกแอ่น มีมากมายหลายหลากวิธี เริ่มตั้งแต่ อ่างน้ำ ระบบรางน้ำ หรือชุดพ่นหมอก/ปั่นหมอกแบบต่างๆ จนมาถึงคูลลิ่งแพด ที่ผู้สนใจสร้างบ้านรังนกรู้สึกว่ายากจนเกินเอื้อม หรือรู้สึกว่าระบบคูลลิ่งแพดเกินความจำเป็น
ก่อน อื่นสำหรับผู้สร้างบ้านรังนกต้องรู้ว่า นอกจากระบบความชื้นและอุณภูมิแล้ว สิ่งหนึ่งที่ถูกปกปิดเป็นความลับหรือยากเกินกว่าจะอธิบายให้เห็นภาพได้คือ ระบบการหมุนเวียนอากาศภายในบ้าน
การสร้างบ้านรังนกกรณีที่สร้างบ้านสำหรับทำฟาร์มเลี้ยงนกโดยเฉพาะส่วนใหญ่มักจะเจาะรูระบายอากาศโดยเว้นระยะห่างประมาณ 1 เมตร ทั้งสองด้านความยาวของอาคารโรงเรือนเพื่อนเป็นการระบายอากาศ ก็เป็นเรื่องง่ายที่สมารถกระทำได้ แต่กรณีเป็นอาคารพาณิชย์หรือบ้านทาวเฮ้าร์ ที่ด้านข้างความยาวของบ้านติดอยู่กับห้องของเพื่อนบ้าน ท่านก็จะมีผนังที่สามารถเจาะรูระบายอากาศเพียง 2 ด้านคือหน้าบ้านและหลังบ้านเท่านั้น ถ้าเป็นอาคารที่มีความยาวเกิน 10 เมตรแล้วการระบายอากาศด้วยการเจาะรูเพียงหน้าบ้านและหลังบ้านนั้นไม่เพียงพอแน่นอน
ด้วย เหตุดังกล่าวการระบายอากาศด้วยการเจาะรูเล็กๆด้านหน้าและด้านหลัง จึงไม่สามารถทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมได้ การแก้ไขคือเจาะช่องระบายอากาศที่ใหญ่ขึ้น และช่องที่ใหญ่ขึ้นจะต้องไม่ทำให้ความชื้นบริเวณใกล้ช่องลมสูญเสียไปด้วย เหตุนี้ระบบ coolingpad จึง เริ่มขึ้น โดยไม่สามารถนำระบบการสร้างความชื้นของคูลลิ่งแพดเพียงอย่างเดียวไปเปรียบ เทียบกับการทำความชื้นของระบบอื่นๆได้ ที่ถูกต้องควรเรียกระบบคูลลิ่งแพดว่า ระบบการระบายอากาศที่สามารถสร้างความชื้นได้ภายในตัวเอง จึงจะทำให้ท่านเข้าใจถูกต้องมากขึ้น 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น